เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 8 มิถุนายน 2566 ที่ผ่านมา ดร.ศุภกร กังพิศดาร กรรมการผู้จัดการ บริษัท ไซเบอร์ อีลีท ได้รับเกียรติเป็นผู้บรรยายในงานประชุม “HP Future Ready พร้อมทุกการทำงานในโลกยุคใหม่” ในหัวข้อเรื่อง ChatGPT and Cybersecurity เพื่อให้ความรู้และข้อมูลเกี่ยวกับ Generative AI ระบบปัญญาประดิษฐ์ที่สามารถสร้างข้อความ รูปภาพ หรือสื่ออื่นๆ ที่สามารถโต้ตอบกับผู้ใช้งาน แต่ก็อาจทำให้มีความท้าทายใหม่ๆ ที่เกิดขึ้นในโลกดิจิดิจิทัล กับผู้ที่มาร่วมงาน ณ โรงแรม ชาเทรียม แกรนด์ กรุงเทพฯ
HP เป็นผู้นำด้านเครื่องพิมพ์ คอมพิวเตอร์ ที่ผู้ใช้งานมีความเชื่อมั่นในบริการและผลิตภัณฑ์ แต่ในปีนี้ HP ได้หันมาให้ความสำคัญ มุ่งเน้นในเรื่องของ Security ที่จะให้ผู้ที่ใช้งานมีความสบายใจและปลอดภัยจากภัยคุกคามทางเทคโนโลยี สามารถลดความเสี่ยงทางด้านไซเบอร์ เพื่อที่จะทำให้ลูกค้าของ HP มีความเชื่อมั่นมากขึ้นในการใช้อุปกรณ์ ยกตัวอย่าง เทคโนโลยีใหม่ล่าสุด ของ HP ซึ่งเมื่อเกิดเหตุการณ์ ที่อุปกรณ์สูญหายหรือถูกขโมย แน่นอนว่าไม่มีองค์กรใดอยากให้เกิดขึ้น เนื่องจากอาจจะมีข้อมูลที่สำคัญภายในองค์กรรั่วไหลไปสู่ภายนอกได้ ทาง HP จึงได้พัฒนา HP Wolf Protect and Trace เป็นระบบ Security ที่สามารถช่วยผู้ใช้งานค้นหาอุปกรณ์ ล้างข้อมูลออกอย่างปลอดภัย และ ล็อกอุปกรณ์นั้นโดยสั่งการได้จากระยะไกล ช่วยให้องค์กรมีความสามารถที่ปกป้องข้อมูลได้มากขึ้น รวมไปถึงช่วยลดภาระในการดำเนินงาน ข้อถัดมาคือ HP ยังให้ความสำคัญเรื่อง Sustainability ที่ตระหนักถึงความยั่งยืนและสิ่งแวดล้อม HP ได้รับมาตรฐานการประหยัดพลังงาน ในการใช้งานทั้งก่อนใช้ ตอนใช้ และหลังใช้ มีกระบวนที่เข้ามาปรับปรุงในอุปกรณ์ต่างๆ
HP ให้ความสำคัญกับลูกค้า โดยนำแนวคิด HP Future Ready มาเป็นแนวทางการปฎิบัติในการทำงาน ที่ทำให้ HPเติบโตในธุรกิจได้ มีอยู่ 3 หัวข้อสำคัญ ได้แก่
- Portfolio – การพัฒนานวัตกรรมใหม่ๆ และสินค้าใหม่ๆที่ทันสมัย โดยเชื่อมั่นว่า สินค้าดี องค์ประกอบดี เป็นหัวใจสำคัญในการหยิบยื่นสิ่งที่ดีที่สุดให้กับลูกค้า
- Operation – การปรับองค์กรให้ทันกับโลกดิจิตอล กระบวนการทำงาน จะทำให้องค์กรเติบโตได้อย่างยั่งยืน
- People – ตระหนักและให้ความสำคัญกับคนและพนักงาน มุ่งมั่นพัฒนาขีดความสามารถของบุคคลากร และเติบโตในทิศทางและเป้าหมายที่บริษัทกำหนด
โดยในการบรรยายครั้งนี้ ดร.ศุภกร กังพิศดาร ได้ให้ความรู้ แชร์ประสบการณ์ทำงานทางด้าน Cybersecurity บวกกับในปัจจุบันนี้ ก็คงไม่มีใครไม่รู้จัก AI แล้ว ซึ่งถือว่าเป็นเรื่องใหม่ที่เข้าใกล้ตัวเรากันมากขึ้น โดย Generative AI ในปี 2022 เราก็จะได้รู้จักกับ แอปพลิเคชัน ChatGPT ที่ใช้งานกันอย่างแพร่หลายในปัจจุบัน มีการพัฒนามานานหลายปี เป็นระบบ Digital Process ที่มีข้อมูลปริมาณมหาศาลที่นำเข้ามาในระบบ ถูกคิดขึ้นมาเพื่อที่จะให้คอมพิวเตอร์สามารถวิเคราะห์ข้อมูลและได้รับคำตอบภายในไม่กี่นาที ซึ่งช่วยให้ประหยัดเวลามากขึ้น และใช้ทรัพยากรน้อยลง อีกทั้งยังสามารถเข้าใจคำพูดในรูปแบบที่ใกล้เคียงมนุษย์มากขึ้น โดยที่เราสามารถโต้ตอบกับคอมพิวเตอร์ ถาม – ตอบ กลับมาได้ทันที ทำให้เทคโนโลยีนี้เป็นผลดีเป็นอย่างมาก ที่จะเข้ามาช่วยในการลดภาระ ลดขั้นตอนการทำงาน และ สามารถใช้งานได้ง่ายๆ จึงทำให้ AI เข้ามามีส่วนช่วยในชีวิตประจำวันของมนุษย์เป็นอย่างมาก ดังนั้น Generative AI จึงเป็นที่ถูกพูดถึงทั้งในบริษัทและองค์กรต่างๆ มากมาย องค์กรส่วนใหญ่อยากนำมาปรับใช้กับองค์กรเพื่อตอบสนองความต้องการ พยายามหาแนวการใช้งานที่เหมาะสมเพื่อธุรกิจของตนเอง
แต่ในขณะเดียวกัน การใช้งาน ChatGPT ที่มีการกำหนดข้อมูล ที่ไว้ใช้ในการตอบสนองของระบบ ถูกอัพเดตล่าสุดเมื่อเดือนกันยายน ปี 2021 ซึ่งหมายความว่า ระบบจะไม่มีข้อมูลความรู้ หรือ เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นหลังจากเวลาดังกล่าว ดังนั้นข้อมูลทีได้จากการใช้งานอาจจะยังไม่ใช่ข้อมูลที่แท้จริงในเวลาปัจจุบัน จึงมีปัจจัยที่ควรพิจารณาดังต่อไปนี้
- Outdated information: ChatGPT ไม่สามารถเข้าถึงข้อมูลเรียลไทม์ หรือ ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลที่ให้มาได้ คำตอบที่ได้จากระบบอาจไม่เป็นปัจจุบัน เราควรหาข้อมูลจากแหล่งอื่น ที่มีความน่าเชื่อถือเพิ่มเติม
- Biased information: ข้อมูลที่ได้มามีความเบี่ยงเบนไปจากข้อเท็จจริง
- Hallucinations: เนื่องจาก AI ที่เราใช้งานเป็นเพียงแค่การทำนายผลลัพธ์ตามข้อมูลที่มีอยู่ ไม่มีความเข้าใจแท้จริงเกี่ยวกับเนื้อหา จึงทำให้ข้อมูลที่ได้มานั้นเกิดความผิดพลาดไปจากความเป็นจริงได้
นอกจากปัจจัยข้างต้นที่กล่าวมานั้น การปรับใช้ในเรื่องของ AI ยังเป็นเครื่องมือที่มีประโยชน์ในการเพิ่มประสิทธิภาพในการป้องกันภัยคุกคาม ช่วยในการหาแนวทางและเทคนิคใหม่ๆ ที่ใช้บริหารจัดการเรื่อง Cybersecurity ภายในองค์กรให้ดีขึ้นได้ อีกทั้งช่วยลดความเสี่ยงและความกังวลต่างๆ มากมายภายในองค์กร เช่น ช่วยวิเคราะห์เนื้อหาเกี่ยวกับ Phishing Email ได้ แต่การใช้งาน AI ก็อาจนำมาใช้ในรูปแบบที่เกิดโทษได้เช่นกัน ด้วยการใช้เพื่อปรับปรุงการโจมตี เกิดเป็นภัยคุกคามรูปแบบใหม่ที่ร้ายแรงขึ้น เช่น การโจมตีด้วยแรนซัมแวร์ที่พัฒนาขึ้นมาอย่างซับซ้อน เพื่อหลบหนีไม่ให้ระบบตรวจจับพบ
การบริหารจัดการด้านความปลอดภัยของข้อมูลให้มีประสิทธิภาพ เป็นเรื่องที่สำคัญอย่างมาก องค์กรจำเป็นต้องปรับตัวมากขึ้น เพื่อให้สอดคล้องกับการทำงานในยุคนี้ ยกตัวอย่างหลักการของ Cyber Hygiene คือ มีการตั้งค่าระบบให้มีความปลอดภัยตามมาตรฐานสากล เพิ่มประสิทธิภาพการป้องกัน Malware ให้เท่าทันต่อภัยคุกคาม และ การทดสอบหาช่องโหว่อยู่เสมอ องค์กรควรกำหนดแนวทางสำคัญ ให้สามารถนำเอามาปรับใช้ได้ โดยแบ่งระดับความเข้มงวดตามระดับความเสี่ยงของผู้ใช้งาน เช่น ยกเลิกการให้เก็บข้อมูลภายในคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล ควบคุมการเข้าถึงข้อมูลระบบสำคัญของบริษัท และ องค์กรต้องสามารถตรวจสอบการใช้งานได้
.
#CyberElite #Cybersecurity #ChatGPT #ChatGPTandCybersecurity #HPFutureReady #HPFutureReadyStategy #HPSolutions
.
📌 ติดต่อ 𝗖𝗬𝗕𝗘𝗥 𝗘𝗟𝗜𝗧𝗘 ได้ทุกช่องทาง
🔹 Email: [email protected]
🔹 Tel: 094-480-4838
🔹 LINE Official: https://line.me/R/ti/p/@cyberelite
🔹 Website: https://www.cyberelite.co
🔹 LinkedIn: https://bit.ly/36M3T7J