ไซเบอร์ อีลีท ได้ให้การต้อนรับคณะผู้บริหารด้านเทคโนโลยีสารสนเทศจากกระทรวงการคลังและเศรษฐกิจ ประเทศกัมพูชา (Ministry of Economy and Finance) เพื่อเข้าเยี่ยมชมศูนย์ปฏิบัติการ CSOC และสาธิตการทำงานของระบบ

Share on Facebook
Share on Linkedin
Share on Twitter

ในวันอังคารที่ 17 ธันวาคม 2567 ดร.ศุภกร กังพิศดาร กรรมการผู้จัดการ บริษัท ไซเบอร์ อีลีท จำกัด ในกลุ่มเบญจจินดา ได้ให้การต้อนรับคณะผู้บริหารด้านเทคโนโลยีสารสนเทศจากกระทรวงการคลังและเศรษฐกิจ จากประเทศกัมพูชา (Ministry of Economy and Finance) เพื่อเข้าเยี่ยมชมศูนย์ปฏิบัติการ CSOC ของบริษัทฯ โดยจุดประสงค์ของการเยี่ยมชมในครั้งนี้นั้นเพื่อมองหาบริษัทต้นแบบในการบริหารจัดการด้านความมั่นคงทางไซเบอร์ โดยเฉพาะการบริหารจัดการศูนย์ความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์ หรือ Cybersecurity Operation Center ที่เป็นบริการหลักของไซเบอร์ อีลีท

โดยในวันดังกล่าง ดร.ศุภกร ได้แนะนำธุรกิจของบริษัท ไซเบอร์ อีลีท จำกัด ที่ดำเนินธุรกิจเกี่ยวกับบริการทางด้านความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์ต่างๆ ตั้งแต่ธุรกิจหลักอย่าง Managed Cybersecurity Services อีกทั้ง Cybersecurity Advisory รวมทั้ง Cybersecurity Platform หรือซอฟแวร์ที่ถูกพัฒนาโดยทีมวิจัยและพัฒนาของ ไซเบอร์ อีลีท เอง รวมถึงได้อธิบายถึงธุรกิจอื่นๆ ที่ดำเนินโดยบริษัทในกลุ่มเบญจจินดาให้กับคณะผู้เข้าเยี่ยมชมได้เข้าใจถึงการทำงานร่วมกันของบริษัทในกลุ่มแบบเป็นภาพรวม

ในการบรรยายครั้งนี้ ดร.ศุภกร ได้ยกกรอบการทำงานที่ใช้ในการดำเนินงานและบริหารจัดการด้านความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์ที่ใช้กันอย่างแพร่หลายอย่าง NIST Cybersecurity Framework โดยใช้เป็นกรอบในการบรรยายวันนี้ เพื่อสร้างความเข้าใจให้กับคณะเยี่ยมชมได้ทราบถึงกระบวนการบริหารจัดการทางด้านความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ ตั้งแต่การระบุความเสี่ยง (Identify) การป้องกัน (Protect) การตรวจจับ (Detect) การตอบสนองต่อภัยคุกคาม (Respond) การกู้คืนระบบ (Recover) ไปจนถึงการกำกับดูแล (Govern) และการมีศูนย์ปฏิบัติการด้านความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ (CSOC) นั้น ก็ถือเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการดังกล่าว และองค์กรมีความจำเป็นต้องวางแผนในการบริหารจัดการให้ครบกระบวนการตามกรอบการทำงานเพื่อให้องค์กรมีความมั่นคงปลอดภัยอยู่ในเกณฑ์ที่สูงที่สุด

และเพื่อให้เป็นประโยชน์สูงสุดให้กับผู้เข้าร่วมฟังบรรยายในวันนี้ ดร.ศุภกร ได้ให้ข้อมูลเสริมเกี่ยวกับความท้าทายของการบริหารจัดการศูนย์ปฏิบัติการด้านความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ (CSOC) จากการเป็นผู้มีประสบการณ์ในการบริหารจัดการศูนย์ปฏิบัติการด้านความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ของตัวเอง และการเป็นผู้ได้รับมอบหมายให้บริหารจัดการศูนย์ปฏิบัติการด้านความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ (CSOC) ให้กับหน่วยงานภาครัฐหลายแห่งในประเทศไทย

นอกจากนั้นคุณภาสกร คชพันธุ์สุนทร ผู้อำนวยการฝ่าย Technology Unit บริษัท ไซเบอร์ อีลีท จำกัด ยังได้นำเสนอและให้ข้อมูลเกี่ยวกับการทำงานของศูนย์ปฏิบัติการด้านความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ พร้อมนำเสนอรูปแบบของการวางโครงสร้างการทำงานและการวางโครงสร้างของทีมงาน ให้เป็นไปตามมาตรฐานต่างๆ เพื่อหลีกเลี่ยงข้อผิดพลาดที่อาจะเกิดขึ้น และใช้งานเทคโนโลยีที่มีอยู่อย่างเต็มประสิทธิภาพที่สุด

ในช่วงถัดมาคุณกนกศักด์ รัชปัตย์, IBM Senior Technical Sales จากบริษัท ไอบีเอ็ม ประเทศไทย ได้ให้ข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับการจัดการความเสี่ยงอีกรูปแบบ ที่เกิดขึ้นกับข้อมูลหรือที่เรียกว่า Data Security เพราะเป็นความเสี่ยงที่สามารถสร้างความเสียหายได้มากที่สุด ตามมูลค่าของข้อมูลที่อาจจะถูกขโมยไป โดย IBM มีเทคโนโลยีที่เรียกว่า IBM Guardium ที่สามารถเข้ามาช่วยปิดช่องโหว่ให้กับองค์กรได้ให้บริการ

และช่วงสุดท้ายก่อนคณะฯ เข้าเยี่ยมชมศูนย์ปฏิบัติการด้านความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ ดร. ศุภกร ได้แนะนำบริการ OVERSIGHT Platform ให้กับคณะเยี่ยมชมเพื่อตอบโจทย์สุดท้ายของกรอบการทำงานอย่าง NIST Cybersecurity Framework ในกระบวนการกำกับดูแล (Govern) ที่จะสามารถเข้ามาช่วยให้องค์กรสามารถบริหารจัดการความเสี่ยง (Risk Management) ได้แบบรวมศูนย์ โดยแพลตฟอร์มนี้สามารถทำให้การมองเห็นและตรวจสอบความเสี่ยงเป็นไปได้อย่างง่ายดายโดยการใช้ Customizable Dashboard ที่สามารถแสดงความเสี่ยงบนหน้าจอตามความต้องการของแต่ละองค์กร และยังมีฟีเจอร์อื่นๆ ที่สามารถกำจัดปัญหา ลดการทำงานแบบเดิมๆ และความยุ่งยากต่างๆ ที่เกิดกับหน่วยงานที่ต้องควบคุมกำกับด้านความเสี่ยงให้กับองค์กรของตนเอง

สนใจรับบริการด้าน Cybersecurity ติดต่อ CYBER ELITE ได้ทุกช่องทาง

🔹 Email: [email protected]

🔹 Tel: 094-480-4838

🔹 LINE Official: https://line.me/R/ti/p/@cyberelite

🔹 Website: https://www.cyberelite.co

🔹 Linkedin: https://bit.ly/36M3T7J

🔹 Youtube: https://bit.ly/3sCqOen

Stop threats today

Let’s get started