Cloud computing คืออะไร? เข้าใจพร้อมกันง่ายๆ

Cloud computing คืออะไร? เข้าใจพร้อมกันง่ายๆ
Share on Facebook
Share on Linkedin
Share on Twitter
Cloud Computing เทคโนโลยีที่ช่วยให้ธุรกิจเติบโตอย่างมีประสิทธิภาพ

ในยุคที่เทคโนโลยีมีการเปลี่ยนแปลงอย่างก้าวกระโดด ส่งผลถึงพฤติกรรมของผู้ใช้งาน เทคโนโลยีคลาวด์ (Cloud Technology) ได้รับความนิยมมากขึ้น องค์กรทั่วโลกพากันปรับตัวและเริ่มใช้งานกันอย่างแพร่หลาย เพราะคลาวด์เป็นเทคโนโลยีที่สร้างความได้เปรียบให้กับองค์กร เพราะการใช้คลาวด์นั้นลดความยุ่งยากในการทำงานกับระบบแบบเดิมๆ สามารถเพิ่ม ลด ปรับขนาดได้อย่างรวดเร็ว และยังสามารถตอบโจทย์การทำงานแบบ Work from Anywhere ในปัจจุบันอีกด้วย เราสามารถนำมาประยุกต์ใช้ได้กับธุรกิจทั้งขนาดใหญ่และขนาดเล็ก หรือแม้กระทั้งโปรเจกต์เล็กๆ ขององค์กรให้ดำเนินไปอย่างมีประสิทธิภาพ โดยเทคโนโลยีคลาวด์ สามารถทดแทนระบบ On Premise แบบเดิมๆ ได้ ทั้งเซิร์ฟเวอร์ พื้นที่จัดเก็บข้อมูล ฐานข้อมูล เน็ตเวิร์ก ซอฟต์แวร์ แอปพลิเคชัน และอื่นๆ แต่สามารถเข้าถึงได้อย่างรวดเร็วมากขึ้น เพราะผู้ให้บริการจะมีการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานเป็น Data Center ที่ประกอบด้วย Cloud Server ที่ซับซ้อนจำนวนมาก ซึ่งแตกต่างจากคอมพิวเตอร์ทั่วไปคือการใช้งานที่มีขีดจำกัดสูงกว่า ทำให้มีความเร็ว ปลอดภัยมากยิ่งขึ้นนั่นเอง

ในบทความนี้ เราจะพาทุกท่านมารู้จักกับรูปแบบของเทคโนโลยีคลาวด์ รวมถึงประโยชน์จากการใช้งานแบบชัดๆ ให้ได้เข้าใจกันแบบง่ายๆ

รูปแบบของ Cloud Computing

Cloud Computing สามารถจัดอยู่ในหมวดของโครงสร้างการใช้ Cloud Computing แบ่งออกเป็น 3 ประเภท ได้แก่ แบบสาธารณะ (Public Cloud) แบบส่วนตัว (Private Cloud) และแบบผสม (Hybrid Cloud)

  1. Public Cloud: เป็นการเช่าใช้ทรัพยากรทั้งหมดที่ถูกนำเสนอและให้บริการโดยผู้ให้บริการนอกองค์กร เช่น Amazon Web Services, Google Cloud Platform และ Microsoft Azure ข้อดีคือลงทุนน้อย สามารถใช้งานได้ตามขนาดที่ต้องการ และปรับลดได้เสมอ ลูกค้าสามารถเข้าถึงบริการเหล่านี้โดยจ่ายค่าบริการตามจำนวนทรัพยากรที่ใช้งานจริง ในขณะเดียวกันผู้ให้บริการก็สามารถให้บริการกับผู้ใช้งานจากบริษัทอื่น จึงอาจมีข้อจำกัดด้านความปลอดภัย

  2. Private Cloud: ระบบจะถูกสร้างอยู่ภายใต้โครงสร้างพื้นฐานขององค์กรเพื่อให้พนักงานในองค์กรสามารถเข้าถึงได้เท่านั้น ตอบโจทย์ด้านความปลอดภัยมากยิ่งขึ้น เพราะองค์กรสามารถสร้างข้อกำหนดการใช้งานให้ปลอดภัยสูง และมีข้อกำหนดที่เข้มงวดให้พนักงานปฏิบัติตาม แต่ในทางกลับกันองค์กรต้องลงทุนสร้างทรัพยากรเหล่านั้นขึ้นมาเอง หรืออาจจ้างผู้ให้บริการเข้ามาช่วยดูแลระบบ ทำให้มีข้อเสียตามมาคือความไม่คล่องตัวในการเพิ่มลด หรือดูแล

  3. Hybrid Cloud: เป็นระบบผสมผสานระหว่าง Public Cloud และ Private Cloud ที่นำข้อดีของ Public Cloud คือความคล่องตัวในการใช้งาน และ Private Cloud ที่มีความปลอดภัยสูง โดยองค์กรสามารถเชื่อมโยงการใช้งานทั้งสองแบบได้ เช่นหากข้อมูลที่ต้องการให้เข้าถึงง่าย ใช้งานสะดวกรวดเร็ว ให้เก็บข้อมูลไว้บน Public Cloud ส่วนข้อมูลที่ต้องการความปลอดภัยสูงๆให้เก็บไว้ที่ Private Cloud ได้ องค์กรสามารถใช้ประโยชน์จากทั้งสองแบบเพื่อตอบสนองความต้องการและรูปแบบการทำงานขององค์กรเอง
ประโยชน์ของ Cloud computing
  • ปรับ ลดขนาด (Scalability): สามารถเพิ่ม ลด ปรับขนาดได้ ให้สอดคล้องกับความต้องการใช้งาน การใช้คลาวด์นั้นลดความยุ่งยากในการทำงานกับระบบแบบเดิมๆ รองรับระบบปฏิบัติการได้หลากหลายตามความต้องการที่เปลี่ยนแปลงไป
  • ประหยัด (Cost Savings): มีความคุ้มค่ามากกว่าการใช้ Solution on-premise แบบเดิม ซึ่งสามารถเพิ่มหรือลดการใช้ทรัพยากรได้ตามต้องการ องค์กรสามารถประหยัดค่าใช้จ่าย และความซับซ้อนในการบำรุงรักษาโครงสร้างพื้นฐานด้านไอทีของตนเอง ลดความยุ่งยากในการดูแลระบบเองอีกด้วย
  • ยืดหยุ่น (Flexibility): ผู้ใช้สามารถเข้าถึงแอปพลิเคชัน และ ข้อมูลขององค์กรได้อย่างรวดเร็ว จากทุกที่ทุกเวลา โดยใช้อุปกรณ์ใดก็ได้เพียงแค่อุปกรณ์นั้นสามารถเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ต เรียกได้ว่าสะดวกสบายแถมยังประหยัดเวลาแบบสุด ๆ
  • ปลอดภัย (Security): ผู้ให้บริการระบบ Cloud Security มีมาตรการรักษาความปลอดภัยที่ที่ได้มาตรฐานสากล ดีกว่าระบบภายในองค์กรส่วนใหญ่ ที่ดำเนินการด้วยตนเอง ทำให้มีความปลอดภัยมากขึ้น
ความท้าทายของการใช้งาน Cloud Computing

Security and Privacy: ถึงแม้ว่าผู้ให้บริการ Cloud Computing จะมีมาตรการรักษาความปลอดภัยที่แข็งแกร่งกว่าองค์กรส่วนใหญ่ แต่ก็ยังมีข้อกังวลเกี่ยวกับความปลอดภัย และความเป็นส่วนตัว ของข้อมูลในระบบ ให้ต้องกังวลอยู่บ้าง

Data Governance and Compliance: องค์กรต้องตรวจสอบให้แน่ใจว่าระบบ Cloud Computing ที่องค์กรเลือกใช้สอดคล้องกับกฎระเบียบและมาตรฐานกับอุตสาหกรรมต่างๆ

Vendor Lock-In: การเปลี่ยนผู้ให้บริการ Cloud Computing อาจเป็นกระบวนการที่มีขั้นตอนที่ยุ่งยาก และ มีค่าใช้จ่ายสูง ดังนั้นองค์กรจึงต้องประเมินตัวเลือกของตนอย่างรอบคอบ ก่อนที่จะตัดสินใจใช้ระบบ Cloud Computing กับผู้ให้บริการรายใดรายหนึ่ง

จะเห็นได้ว่าเทคโนโลยีคลาวด์นั้นเข้ามาช่วยเพิ่มความสามารถให้กับองค์กรได้เติบโตนำหน้าคู่แข่งและบรรลุวัตถุประสงค์ทางธุรกิจได้รวดเร็วขึ้น

มีศักยภาพในการจัดการกับทรัพยากรขององค์กรโดยความสามารถในการปรับขนาดได้ มีความยืดหยุ่น นอกจากนั้นยังสามารถช่วยประหยัดต้นทุน คุ้มค่าในการลงทุน อย่างไรก็ตามการใช้งานเทคโนโลยีคลาวด์นั้นยังมีความท้าทายทางด้านความปลอดภัย และการจัดการข้อมูล ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญที่องค์กรต้องใส่ใจอย่างมาก องค์กรต้องมีการประเมินและวางแผนการใช้งานอย่างรอบคอบก่อนตัดสินใจ

ในบทความหน้า CYBER ELITE 🦉จะมาเล่าให้ฟังเกี่ยวกับความท้าทายทางด้านความปลอดภัยทางไซเบอร์ที่มาพร้อมกับการนำเทคโนโลยีคลาวด์มาใช้งานเพื่อเป็นอีกหนึ่งในองค์ประกอบในการตัดสินใจให้กับองค์กร

Stop threats today

Let’s get started