CYBER ELITE ประกาศความร่วมมือ Fortinet ชูบริการ FirewallGuardยกระดับการป้องกันภัยคุกคามทางไซเบอร์

CYBER ELITE ประกาศความร่วมมือเป็นพันธมิตร Fortinet ชูบริการ FirewallGuard ผสานความเชี่ยวชาญ 2 องค์กร ยกระดับการป้องกันภัยคุกคามทางไซเบอร์บนเทคโนโลยี Firewall ด้วยแนวคิด “Double The Expertise, Double The Protection” ผ่านความเชี่ยวชาญ ประสบการณ์ของบุคลากรและเทคโนโลยีที่ได้มาตรฐานสากลด้านความมั่นคงปลอดภัยสารสนเทศ ดร. ศุภกร กังพิศดาร กรรมการผู้จัดการ บริษัท ไซเบอร์ อีลีท จำกัด (CYBER ELITE) ในกลุ่มเบญจจินดา (BCG) กล่าวว่า การร่วมมือเป็นพันธมิตรระหว่าง CYBER ELITE และ Fortinet ในครั้งนี้ ทั้ง 2 องค์กรมีวิสัยทัศน์ และความต้องการตรงกัน ในการสร้างโลกที่ปลอดจากภัยคุกคามทางไซเบอร์  โดยร่วมมือกันให้บริการ FirewallGuard  ซึ่งเป็นบริการที่ผสมผสานความเชี่ยวชาญระหว่าง CYBER ELITE และ Fortinet ในการยกระดับการป้องกันภัยคุกคามทางไซเบอร์บนเทคโนโลยี Firewall ด้วยแนวคิด “Double […]

ถอดบทเรียน Global Outage: Blue Screen of Death (BSOD)

เมื่อวันศุกร์ที่ 19 กรกฎาคม 2024 ได้มีปรากฏการณ์การล่มของระบบปฏิบัติการ Windows ครั้งที่ใหญ่ที่สุด สร้างผลกระทบให้อุปกรณ์กว่า 8.5 ล้านเครื่องทั่วโลก หยุดชะงัก ใช้การไม่ได้ ธุรกิจในหลายอุตสาหกรรมได้รับผลกระทบอย่างหนัก ไม่ว่าจะเป็นธนาคาร โรงงานอุตสาหกรรม ธุรกิจสุขภาพและโรงพยาบาล แม้แต่ธุรกิจสายการบินเองก็ได้รับผลอย่างหนัก ก่อให้เกิดการดีเลย์ของเที่ยวบินขึ้นหลายเที่ยวบิน สนามบินบางสนามบินต้องหยุดทำการ ซึ่งเหตุการณ์นี้เป็นเหตุการณ์ที่ไม่มีใครคาดคิด และไม่สามารถรู้ตัวก่อน และหลีกเลี่ยงได้ทัน แน่นอนว่าผู้ใช้บริการของบริษัท ไซเบอร์ อีลีท เองก็ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์ในครั้งนี้ไม่น้อยเช่นกัน ซึ่งเรา ในฐานะผู้เชี่ยวชาญด้านความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ ที่ให้บริการตลอด 24 ชั่วโมง ได้เข้าไปช่วยเหลือผู้ใช้บริการในการแก้ปัญหาตั้งแต่เกิดเหตุ จนกระทั่งเหตุการณ์สงบลง เกิดอะไรขึ้น ? ในวันดังกล่าว เวลา 04:09 UTC หรือประมาณ 11 โมงประเทศไทย CrowdStrike ได้ดำเนินการปล่อย Configuration Update ที่ในบทความนี้เราจะเรียกว่า การกำหนดค่าการใช้งาน ซึ่งเป้าประสงค์ของการกำหนดค่าการใช้งานใหม่นี้ ก็เพื่อส่งข้อมูลให้ Sensor บนอุปกรณ์ของผู้ใช้งาน ให้มีข้อมูลล่าสุดเกี่ยวกับภัยคุกคามใหม่ๆ ที่ถูกค้นพบ ซึ่งกระบวนการอัปเดตนี้เป็นกระบวนการที่ผู้ให้บริการอย่าง […]

CYBER ELITE ได้รับเกียรติเป็นวิทยากรในงานสัมมนา ‘Enhancing Port Safety Through Cutting-Edge Video Analytics and Cyber Security’ จัดขึ้นโดยบริษัท Gorilla Technology ณ โรงแรมอนันตรา สยาม กรุงเทพฯ

เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 25 กรกฎาคม 2567 ที่ผ่านมา ดร.ศุภกร กังพิศดาร กรรมการผู้จัดการ บริษัท ไซเบอร์ อีลีทได้รับเกียรติเป็นวิทยากรในหัวข้อ ‘Cyber Security Trends For Next 3 Years’ ในงานสัมมนา ‘Enhancing Port Safety through Cutting-Edge Video Analytics and Cyber Security’ ซึ่งจัดขึ้นโดยบริษัท Gorilla Technology บริษัทเทคโนโลยีระดับโลกที่มีการดำเนินงานในหลายประเทศรวมถึงประเทศไทย เป็นผู้เชี่ยวชาญในการพัฒนาโซลูชันด้านปัญญาประดิษฐ์ (AI) วิเคราะห์วิดีโออัจฉริยะ รวมถึงเป็นผู้ให้บริการแพลตฟอร์มสำหรับการเชื่อมต่ออุปกรณ์ IoT และ โซลูชันด้านความปลอดภัยทางไซเบอร์เพื่อปกป้องระบบเครือข่ายและข้อมูล โดยมีการจัด Workshop ให้ผู้เข้าร่วมงานได้ทดลองใช้เทคโนโลยีล่าสุด ระบบวิเคราะห์วิดีโออัจฉริยะสำหรับการรักษาความปลอดภัยและการเฝ้าระวัง ที่ออกแบบมาเพื่อยกระดับความปลอดภัยในการดำเนินงานของท่าเรือและผู้ประกอบการ ณ โรงแรมอนันตรา สยาม กรุงเทพฯ ในช่วงแรกของการบรรยาย ดร.ศุภกร กังพิศดาร ได้ยกตัวอย่างน่าสนใจเกี่ยวกับเหตุการณ์จอฟ้า Blue Screen […]

CYBER ELITE: Cyber Resilience Guidance BSOD เป็นเหตุ ต้องกลับมาสังเกตความพร้อมขององค์กร

Cyber Resilience

เหตุการณ์จอฟ้า หรือ Blue Screen Of Dead (BSOD) ที่เกิดขึ้นในวันที่ 19 กรกฎาคม 2024 กับอุปกรณ์ที่ใช้ระบบปฏิบัติการของ Microsoft Windows กว่า 8.5 ล้านเครื่องทั่วโลกหยุดทำงานพร้อมกันทั้งหมด สร้างความเสียหายเป็นวงกว้าง สายการบินหยุดชะงัก โรงพยาบาลได้รับผลกระทบ อุตสาหกรรมการเงินเองก็หนีไม่พ้นเช่นกัน ซึ่งเหตุการณ์ทั้งหมดนี้เกิดขึ้นจากความผิดพลาดจากการกระทำเล็กๆ น้อยๆ ในกระบวนการอัปเดตของซอฟต์แวร์แบบอัตโนมัติ จากผู้นำด้านความปลอดภัยไซเบอร์อย่าง CrowdStrike ซึ่งแน่นอนว่ากระบวนการอัปเดตแบบอัตโนมัติเป็นกระบวนการที่ได้รับการยอมรับโดยสากล เพราะนั้นเท่ากับเป็นการลดภาระให้กับผู้ใช้งาน ไม่ต้องนั่งคลิ๊กอัปเดตเวอร์ชันเอง และไม่ใช่เพียงแค่ซอฟต์แวร์ของ CrowdStrike เท่านั้น หากรวมซอฟต์แวร์อื่นๆ เข้าไปด้วย ผู้ใช้งานอาจจะเสียประสิทธิภาพการทำงานและเวลา ไปวันละหลายนาทีทีเดียว จากบทสัมภาษณ์และคำชี้แจงของ George Kurtz, CEO, CrowdStrike (อ้างอิง 1) เขาได้พูดถึงเหตุผลที่ต้องมีกระบวนการนี้เพื่อต้องการนำกลุ่มผู้ไม่หวังดีทางไซเบอร์อย่างน้อย 1 ก้าว ต้องการให้อุปกรณ์ทุกเครื่องที่ได้รับการปกป้องอยู่ มีความสามารถสูงสุดในการตรวจจับและปกป้องผู้ใช้งานจากภัยคุกคามไซเบอร์ จึงทำการส่งมอบเวอร์ชั่นใหม่ๆ เพื่ออัปเดทให้อุปกรณ์เหล่านั้นเก่งขึ้น ฉลาดขึ้น  แต่ทว่าสิ่งนี้ก็เป็นเหตุของหายนะ ที่จริงๆ แล้วสามารถหลีกเลี่ยงได้ ? […]

CYBER ELITE ในฐานะที่ปรึกษาให้กับ บริษัท ธนากร ผลิตภัณฑ์น้ำมันพืช จำกัด สู่ความสำเร็จในการรับรองมาตรฐาน ISO/IEC 27001

เมื่อวันอังคารที่ 2 กรกฎาคม 2567 ที่ผ่านมา บริษัท ไซเบอร์ อีลีท จำกัด ผู้ให้บริการด้านความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์แบบครบวงจร นำโดย  ดร.ศุภกร กังพิศดาร กรรมการผู้จัดการบริษัท ในฐานะที่ปรึกษาและดำเนินการวางระบบการจัดการความมั่นคงปลอดภัยสารสนเทศตามมาตรฐาน ISO/IEC 27001 ให้กับบริษัท ธนากร ผลิตภัณฑ์น้ำมันพืช จำกัด ผู้ผลิตและจำหน่ายน้ำมันพืชชั้นนำของประเทศไทย ได้เข้าร่วมพิธีรับมอบใบประกาศนียบัตรรับรองมาตรฐาน ISO/IEC 27001 ซึ่งออกโดยสถาบันมาตรฐานอังกฤษ (British Standards Institution – BSI) ณ สำนักงานใหญ่ บริษัท ธนากร ผลิตภัณฑ์น้ำมันพืช จำกัด ISO/IEC 27001 เป็นมาตรฐานระบบการบริหารจัดการความมั่นคงปลอดภัยสารสนเทศ ที่มีแนวทางปฏิบัติที่ครอบคลุมถึงกระบวนการจัดการความเสี่ยง การรับรองนี้เป็นเครื่องหมายยืนยันถึงความมุ่งมั่นของบริษัท ธนากร ผลิตภัณฑ์น้ำมันพืช จำกัด ในการบริหารจัดการความปลอดภัยซึ่งครอบคลุมทั้งด้านบุคลากร กระบวนการ และเทคโนโลยี ดำเนินธุรกิจอย่างมีประสิทธิภาพและความปลอดภัยด้วยการรักษามาตรฐานและพัฒนาระบบการรักษาความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์อย่างต่อเนื่อง เพื่อรักษามาตรฐานความปลอดภัยข้อมูลและระบบสารสนเทศให้อยู่ในระดับสูงสุดตามมาตรฐานสากล สร้างความมั่นใจให้กับลูกค้า คู่ค้า และพันธมิตรทางธุรกิจ CYBER ELITE […]

NIST Risk Management Framework (RMF) และ ISO 31000 อีก 2 แนวทางการบริหารความเสี่ยงที่องค์กรต้องรู้

จากบทความที่แล้ว เราได้รู้จักกับ NIST Cybersecurity Framework 2.0 ซึ่งเป็นกรอบการบริหารจัดการความเสี่ยงทางไซเบอร์ที่ช่วยให้องค์กรทุกขนาดสามารถรับมือกับภัยคุกคามทางไซเบอร์ได้อย่างมีประสิทธิภาพกันไปแล้ว ในบทความนี้เราจะแนะนำแนวทางบริหารจัดการความเสี่ยงตามมาตรฐานเพิ่มเติม ได้แก่ NIST Risk Management Framework (RMF) ซึ่งเป็นแนวทางเฉพาะสำหรับการประเมินและจัดการความเสี่ยงไซเบอร์ และ ISO 31000 ที่มาตรฐานควบคุมกรอบการทำงานที่ครอบคลุมสำหรับการจัดการความเสี่ยงทุกประเภท มาเริ่มกันที่ส่วนแรก ได้แก่ NIST Risk Management Framework (RMF) ซึ่งเป็นแนวทางการจัดการความเสี่ยง ที่ได้แบ่งขั้นตอนเอาไว้ทั้งหมด 7 ขั้นตอน ดังต่อไปนี้ การเตรียมการ (Prepare): ขั้นตอนแรกคือการเตรียมความพร้อมสำหรับดำเนินการบริหารจัดการความเสี่ยง โดยกำหนดบทบาทความรับผิดชอบ กำหนดขอบเขตของระบบที่ต้องการจัดการความเสี่ยง กำหนดเป้าหมายความปลอดภัย และระบุทรัพยากรที่จำเป็น การจัดหมวดหมู่ (Categorize System): วิเคราะห์และจัดหมวดหมู่ระบบตามระดับความเสี่ยง รวมถึงการพิจารณาถึงข้อกำหนดด้านกฎหมายที่เกี่ยวข้อง เช่น กฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (PDPA) หรือ มาตรฐานความปลอดภัยข้อมูลชำระเงินแบบอุตสาหกรรมการชำระเงิน (PCI DSS) จะถูกจัดอยู่ในหมวดหมู่ที่มีระดับความเสี่ยงสูง องค์กรจำเป็นต้องเพิ่มมาตรการควบคุมความปลอดภัยเพื่อป้องกันภัยคุกคามทางไซเบอร์ การเลือกมาตรการควบคุม (Select Controls): […]

บริษัท ไซเบอร์ อีลีท จำกัด เป็นหนึ่งในผู้สนับสนุน และร่วมบรรยายในงานการแข่งขันปฏิบัติการด้านไซเบอร์กองทัพอากาศ รอบชิงชนะเลิศ “RTAF Cyber Operations Contest 2024” ณ พิพิธภัณฑ์กองทัพอากาศและการบินแห่งชาติ

เมื่อวันศุกร์ที่ 7 มิถุนายน 2567 ที่ผ่านมา บริษัท ไซเบอร์ อีลีท จำกัด นำทีมโดย ดร.ศุภกร กังพิศดาร กรรมการผู้จัดการบริษัท ร่วมเป็นหนึ่งในผู้สนับสนุนและบรรยายในงานการแข่งขันปฏิบัติการด้านไซเบอร์กองทัพอากาศ รอบชิงชนะเลิศ “RTAF Cyber Operations Contest 2024” ซึ่งจัดขึ้นโดยศูนย์ไซเบอร์กองทัพอากาศ (ศซบ.ทอ.) การแข่งขันครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ พัฒนาทักษะขีดความสามารถด้านการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ เสริมสร้างความตระหนักรู้ด้านไซเบอร์ของกองทัพอากาศอย่างต่อเนื่อง และยกระดับความเชี่ยวชาญในการปฏิบัติการด้านไซเบอร์ รวมถึงค้นหาผู้มีความสามารถด้านไซเบอร์เพื่อเป็นกำลังสำคัญในการปกป้องภัยคุกคามทางไซเบอร์ของกองทัพอากาศ โดยมีข้าราชการ ลูกจ้าง พนักงานราชการ นักเรียน นักศึกษา และผู้สนใจจากสถาบันการศึกษา เข้าร่วมกิจกรรมตั้งแต่เวลา 08:00-15:30 ณ พิพิธภัณฑ์กองทัพอากาศและการบินแห่งชาติ คุณภาสกร คชพันธุ์สุนทร Head of Technology Unit บริษัท ไซเบอร์ อีลีท จำกัด ได้รับเกียรติเป็นผู้บรรยาย เกี่ยวกับความสำคัญของความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์ในปัจจุบันที่ภัยคุกคามทางไซเบอร์เพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง จากสถิติภาพรวมของภัยคุกคามในปี 2024 พบว่า Ransomware เป็นภัยคุกคามทางไซเบอร์ที่ก่อให้เกิดความเสียหายร้ายแรง ส่งผลกระทบต่อหลายองค์กรในประเทศไทย […]

CYBER ELITE เปิดบ้านต้อนรับสมาชิกจากศูนย์นวัตกรรมการผลิตยั่งยืน (SMC) ในงาน SMC Members’ Day ครั้งที่ 4

เมื่อวันศุกร์ที่ 31 พฤษภาคม 2566 ที่ผ่านมา บริษัท ไซเบอร์ อีลีท จำกัด ผู้ให้บริการด้านความมั่นคงปลอดภัยแบบครบวงจร ร่วมกับ ศูนย์นวัตกรรมการผลิตยั่งยืน (SMC) หรือ Sustainable Manufacturing Center ซึ่งมีภารกิจหลักในการผลักดันอุตสาหกรรมไทยก้าวเข้าสู่ยุคอุตสาหกรรม 4.0 ร่วมจัดงาน SMC Members’ Day ครั้งที่ 4 ในหัวข้อ “Cybersecurity for Manufacturing” เพื่อเสริมสร้างความรู้ ความเข้าใจ เกี่ยวกับรูปแบบของภัยคุกคามทางไซเบอร์ที่พบได้บ่อยในภาคอุตสาหกรรม นำเสนอแนวทางในการรับมือกับภัยคุกคามทางไซเบอร์ รวมไปถึงการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ในการรับมือกับภัยคุกคามทางไซเบอร์ ช่วยให้ภาคอุตสาหกรรมสามารถเตรียมความพร้อมในการรับมือกับภัยคุกคามทางไซเบอร์ เพื่อให้ดำเนินธุรกิจได้อย่างมั่นคง ณ อาคารเบญจจินดา ในช่วงแรก ได้รับเกียรติจาก ดร.พนิตา พงษ์ไพบูลย์ ผู้อำนวยการศูนย์นวัตกรรมการผลิตยั่งยืน (SMC) และรองผู้อำนวยการเนคเทค สวทช. กล่าวต้อนรับเปิดงาน SMC Members’ Day ในครั้งนี้ และ ดร.ศุภกร กังพิศดาร กรรมการผู้จัดการ […]

รู้จักกับ NIST Cybersecurity Framework 2.0

จากบทความที่แล้ว เราได้ทราบถึงสถิติของผลกระทบจากภัยคุกคามทางไซเบอร์ที่เคยเกิดขึ้นกับองค์กรกันไปแล้ว ว่าภัยคุกคามทางไซเบอร์มีรูปแบบที่หลากหลายมากขึ้น สามารถส่งผลกระทบต่อระบบข้อมูลสารสนเทศและการดำเนินธุรกิจขององค์กร ดังนั้นการบริหารจัดการความเสี่ยงไซเบอร์ (Cyber Risk Management) จึงมีความจำเป็นสำหรับองค์กรทุกประเภท โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อปกป้ององค์กรจากภัยคุกคามทางไซเบอร์ รวมถึงการปฏิบัติตามกฎระเบียบข้อบังคับทางด้านความปลอดภัยทางไซเบอร์ได้อย่างถูกต้องสอดคล้องกับหน่วยงานกำกับดูแล โดยบทความนี้เราจะมาเล่าถึง NIST Cybersecurity Framework 2.0 ซึ่งเป็นกรอบการทำงานด้านการบริหารจัดการความเสี่ยงทางไซเบอร์ที่กำหนดโดยสถาบันมาตรฐานและเทคโนโลยีแห่งชาติ (NIST) ที่บังคับใช้สำหรับหน่วยงานรัฐบาลกลางของสหรัฐอเมริกาเพื่อเป็นแนวทางการสร้างความปลอดภัยในการดำเนินงานสำหรับองค์กรต่างๆ รวมถึงหน่วยงานด้านสาธารณสุข การเงิน พลังงาน และโทรคมนาคม ซึ่งเป็นหน่วยงานที่มีการบริหารจัดการข้อมูลที่มีความละเอียดอ่อน และต้องปฏิบัติตามข้อกำหนดที่เข้มงวด กรอบทำงานด้านความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ NIST Cybersecurity Framework 2.0 นั้น มีแนวทางปฏิบัติที่เป็นขั้นตอน เข้าใจง่าย และครอบคลุมตั้งแต่การประเมินความเสี่ยง การจัดลำดับความสำคัญของความเสี่ยงที่ส่งผลกระทบต่อการดำเนินงานองค์กร ไปจนถึงการวางแผนรับมือกับเหตุการณ์ภัยคุกคามทางไซเบอร์ที่อาจเกิดขึ้น  กรอบการทำงานนี้ช่วยให้องค์กรสามารถตอบสนองต่อภัยคุกคามได้อย่างเหมาะสม รวมถึงสามารถสรุปข้อมูลที่สำคัญเพื่อใช้ประกอบการตัดสินใจของผู้บริหารและบุคลากรที่เกี่ยวข้องกับการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ภายในองค์กร ซึ่งปัจจุบันมีได้มีการพัฒนาโครงสร้างของกรอบการทำงานด้านความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ออกมาเป็นหลายเวอร์ชั่น โดยปรับปรุงและเพิ่มเติมรายละเอียดให้มีความครอบคลุมและทันสมัยมากขึ้น เพื่อให้องค์กรสามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด ไว้ดังนี้ NIST Cybersecurity Framework Version 1.0: เผยแพร่ครั้งแรกในปี 2014 โดยมุ่งเน้นไปที่การระบุ ประเมิน และจัดการความเสี่ยงด้านความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์เป็นหลัก NIST Cybersecurity Framework […]

ทำไมองค์กรไม่ควรมองข้าม การบริหารจัดการความเสี่ยงไซเบอร์ (Cyber Risk Management)

ในปัจจุบัน องค์กรต้องพึ่งพาเทคโนโลยีสารสนเทศและข้อมูลดิจิทัลอย่างมากในการดำเนินธุรกิจ เช่น ระบบปฏิบัติการ ฐานข้อมูล แอปพลิเคชันต่างๆ หรือแม้แต่ซอฟต์แวร์บริหารจัดการข้อมูลส่วนบุคคลของลูกค้า เนื่องจากภัยคุกคามในโลกไซเบอร์มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่องและสามารถสร้างความเสียหายร้ายแรง องค์กรจึงต้องมีการบริหารจัดการความเสี่ยงไซเบอร์โดยเป็นกระบวนการที่ช่วยให้องค์กรสามารถระบุ ประเมิน วิเคราะห์ และจัดการความเสี่ยงต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับภัยคุกคามไซเบอร์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งจะช่วยให้องค์กรสามารถจัดการกับภัยคุกคามที่มีแนวโน้มส่งผลกระทบรุนแรงต่อองค์กรเป็นอันดับแรก สามารถบริหารจัดการทรัพยากรได้อย่างเหมาะสม ลดค่าใช้จ่าย พร้อมทั้งเพิ่มระดับความปลอดภัยให้กับองค์กรได้ จากผลสำรวจ “Global Cyber Risk and Insurance Survey 2024” (1) ของ Munich Re ความเห็นของผู้บริหารตลาดประกันภัยไซเบอร์ เกี่ยวกับเหตุการณ์ภัยคุกคามทางไซเบอร์ที่เกิดขึ้นในปี 2024 พบว่า 87% ของบริษัททั่วโลกยังไม่พร้อมรับมือกับภัยคุกคามทางไซเบอร์ อีกทั้งแนวโน้มที่องค์กรต้องเผชิญกับมูลค่าความเสียหายทางด้านไซเบอร์นั้น เพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ยกตัวอย่างเช่น (1) https://www.munichre.com/en/insights/cyber/global-cyber-risk-and-insurance-survey.html การโจมตีด้วย Ransomware ที่มีความสามารถมากขึ้นและใช้เวลาน้อยลงในการโจมตีเนื่องจากความก้าวหน้าของเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (AI) จากผลสำรวจพบว่ามีการเรียกค่าไถ่ด้วยสกุลเงินดิจิทัลเพิ่มขึ้นจาก 567 ล้านดอลลาร์ในปี 2022 สูงขึ้นเป็น 1.1 พันล้านดอลลาร์ในปี 2023 การปลอมแปลงอีเมลธุรกิจ (Business Email […]