ถอดบทเรียนจากงานสัมมนา IBM Solutions Summit 2023

IBM Solutions Summit 2023
Share on Facebook
Share on Linkedin
Share on Twitter

เมื่อวันพุธที่ 23 สิงหาคม 2566 ที่ผ่านมา คุณณัฐพล อาภาแสงเพชร Head of Cybersecurity Advisory Department บริษัท ไซเบอร์ อีลีท ได้รับเกียรติเป็นผู้บรรยายในงานสัมมนา IBM Solutions Summit 2023 ในหัวข้อ From Theory to Triumph: Realizing Cybersecurity Success with AI and Automation เพื่อให้ความรู้และแชร์ประโยชน์ของการนำเอาเทคโนโลยีที่มีประสิทธิภาพอย่าง AI และ Automation มาใช้จริง ช่วยเสริมความแข็งแกร่งในการรับมือภัยคุกคามด้านไซเบอร์  ณ โรงแรมอินเตอร์คอนติเนนตัล กรุงเทพฯ

คุณณัฐพล ได้เล่าถึงประสบการณ์จากการดูแลบริหารจัดการการทำงานในศูนย์ CSOC ที่ได้ใช้ประโยชน์จาก AI และ Automation เข้ามาช่วยเพิ่มประสิทธิภาพให้องค์กรสามารถรับมือกับเหตุการณ์ภัยคุกคามทางไซเบอร์ให้ดียิ่งขึ้น โดยแชร์ว่าในช่วงปีที่ผ่านมานั้น ประเทศไทยพบเจอเหตุการณ์ภัยคุกคามทางไซเบอร์ที่เกี่ยวข้องกับการโจมตีด้วย Ransomware มากขึ้นเรื่อยๆ และสร้างความเสียหายให้กับหลายๆ องค์กร โดยผู้โจมตีจะใช้เทคนิคที่ทำให้ไม่สามารถเข้าถึงข้อมูลที่สำคัญขององค์กรได้ จนกว่าจะชำระเงินค่าไถ่ไป เพื่อแลกกับการได้รหัสข้อมูลคืน มักจะเกิดขึ้นบ่อยครั้งในองค์กรที่มีความสำคัญของข้อมูลส่วนบุคคลสูง เช่น กลุ่มอุตสาหกรรมการเงิน และประกันภัย ท่ามกลางโลกของสงครามทางไซเบอร์นั้นองค์กรจึงไม่ควรที่จะประเมินศักยภาพของผู้ไม่หวังดีในปัจจุบันต่ำเกินไป ยกตัวอย่างกลุ่มผู้ไม่หวังดี CONTI จากประเทศรัสเซีย ที่รัฐบาลอเมริกาได้เสนอเงินค่าหัวรางวัลสูงถึง 10 ล้านเหรียญสหรัฐ เพราะพวกเขาได้นำเทคโนโลยี AI มาใช้เพื่อทำให้การโจมตีรุนแรงมากขึ้น เช่น การเก็บค่าไถ่ได้โดยใช้บอท (Bot), การสแกนค้นหาช่องโหว่อย่างรวดเร็วและสามารถทำการโจมตีหลายธุรกิจใหญ่ๆ ภายในเวลาเดียวกันได้, การ Phishing ที่ถูกปรับแต่งขึ้นอย่างฉลาดเหมือนเป็นอีเมลจากแหล่งที่มีความน่าเชื่อถือ ดังนั้นองค์กรจึงต้องเพิ่มขีดจำกัดความสามารถในการตรวจจับและตอบสนองกับภัยคุกคามทางไซเบอร์เช่นกัน

การนำ Generative AI มาช่วยวิเคราะห์เสริมการทำงานของนักวิเคราะห์ภายในศูนย์ CSOC นั้น ได้ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการตรวจสอบปลอดภัยของระบบและเครือข่ายที่สำคัญขององค์กร ทำให้สามารถรวบรวมข้อมูลจากหลาย Log ที่เกี่ยวข้องกับภัยคุกคามได้อย่างรวดเร็ว สามารถแยกประเภทของภัยคุกคามที่มีระดับความเสี่ยงสูงได้ และมีแจ้งเตือนเพื่อให้นักวิเคราะห์ทำการแก้ไขภัยคุกคามได้อย่างทันท่วงที ซึ่งทาง IBM นั้นมีเทคโนโลยีล่าสุด  QRadar Watson Advisor ซึ่งเป็นการใช้งานระบบความปลอดภัยแบบ Cognitive Security ที่มีความสามารถในการเรียนรู้และปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง มีความแม่นยำเชื่อถือได้เพื่อให้สามารถรับมือกับภัยคุกคามทางไซเบอร์ในปัจจุบัน สามารถระบุข้อมูลของผู้โจมตีได้ทันที อีกทั้งยังมีความยืดหยุ่นสามารถปรับแต่งให้เหมาะสมกับองค์กร ช่วยให้องค์กรตรวจจับภัยคุกคามได้อย่างมีประสิทธิภาพแม่นยำมากยิ่งขึ้น  

บริษัท ไซเบอร์ อีลีท จำกัด มีทีมนักวิจัยและพัฒนาที่สามารถพัฒนาระบบ AI ให้เข้ามาช่วยจัดการในเรื่องของ Cyber Defense ด้วยการใช้ Isolation Forest ค้นหาความผิดปกติอย่างรวดเร็ว และการใช้ Neural Network ใน UEBA ที่ช่วยเพิ่มความสามารถในการตรวจจับ โดยระบบสามารถเรียนรู้ตามพฤติกรรมผู้ใช้งานที่มีการเปลี่ยนแปลงไปอย่างต่อเนื่อง อีกทั้งยังสามารถจัดหมวดหมู่ของเหตุการณ์ภัยคุกคามที่เกิดขึ้นได้  โดยเหตุการณ์ที่มีลักษณะคล้ายๆ กันจะถูกจัดเรียงรวมกันในกลุ่มเดียวกันเพื่อให้ง่ายต่อการวิเคราะห์ข้อมูล

คุณณัฐพล ยังแชร์ต่อว่า Automated Moving Target Defense (AMTD) เป็นสิ่งที่จะเกิดขึ้นในอนาคตของการนำ AI มาพัฒนาต่อเพื่อช่วยรับมือกับภัยคุกคามทางไซเบอร์ ซึ่ง AMTD นี้เป็นเทคโนโลยีใหม่ที่จะเข้ามาสร้างความความซับซ้อนให้กับเป้าหมาย โดยใช้กลยุทธ์การเคลื่อนไหว โดยอาจจะมีการเปลี่ยนแปลงค่า IP address หรือการสร้างเป้าหมายปลอมขึ้นมา (decoys) เพื่อทำให้องค์กรเป็นเป้าหมายที่ยากต่อการโจมตีมากขึ้น

#CYBERELITE #IBMThailand #IBMPartner

📌ติดต่อ 𝗖𝗬𝗕𝗘𝗥 𝗘𝗟𝗜𝗧𝗘🦉 ได้ทุกช่องทาง

Stop threats today

Let’s get started