CYBER ELITE ได้รับเกียรติเป็นผู้บรรยายในงานสัมมนา ‘กรุงเทพฯ เมือง DATA สร้าง’ ในหัวข้อข้อมูลสร้างเมืองให้ปลอดภัยน่าอยู่ด้วย​ Cyber-Physical Security

Share on Facebook
Share on Linkedin
Share on Twitter

เมื่อวันเสาร์ที่ 5 สิงหาคม 2566 ที่ผ่านมา ดร.ศุภกร กังพิศดาร กรรมการผู้จัดการ บริษัท ไซเบอร์ อีลีท ได้รับเกียรติเป็นผู้บรรยายในงานสัมมนา‘กรุงเทพฯ เมือง DATA สร้าง’ ในหัวข้อข้อมูลสร้างเมืองให้ปลอดภัยน่าอยู่ด้วย (Cyber-Physical Systems) ได้แชร์ประสบการณ์ทางด้านการดูแลระบบ Cybersecurity ให้กับนักศึกษาในสาขาวิชาการจัดการวิเคราะห์ข้อมูลและเทคโนโลยีข้อมูล (MADT) และบุคคลภายนอกที่ให้ความสนใจ โดยได้ยกตัวอย่างภัยคุกคามที่ก่อให้เกิดความเสียหายกับองค์กร จากการใช้งานเทคโนโลยีดิจิทัลและอินเทอร์เน็ตที่กำลังเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ซึ่งงานสัมมนานี้ได้จัดขึ้นโดยสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (NIDA) คณะสถิติประยุกต์ (GSAS) สาขาวิชาการจัดการวิเคราะห์ข้อมูลและเทคโนโลยีข้อมูล (MADT) ณ ห้องออดิทอเรียม สมาคมฝรั่งเศสกรุงเทพ

การบรรยายครั้งนี้ ดร.ศุภกร กังพิศดาร ได้แบ่งปันความรู้เกี่ยวกับ Cyber-Physical Systems เนื่องจากปัจจุบันทุกอย่างขับเคลื่อนด้วย Data เครื่องมือเครื่องใช้ต่างๆได้นำเทคโนโลยีเข้ามาช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน ตัวอย่างเช่นอุปกรณ์ IoT Smart Pole ที่สามารถติดตั้งระบบเซ็นเซอร์กับอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์เข้าด้วยกัน และมีการรับส่งข้อมูลแบบเรียลไทม์ผ่านอินเทอร์เน็ตเพื่อควบคุมอุปกรณ์เพื่อเพิ่มความสะดวกสบายในชีวิตประจำวันของเรา และอาจเป็นส่วนหนึ่งของการจัดทำระบบการจัดการอาคาร (Smart Building), ระบบเมืองอัจฉริยะ (Smart City), ระบบอัตโนมัติภายในบ้าน (Smart Home) เป็นต้น แต่สิ่งที่น่ากังวลสำหรับระบบอัจฉริยะเหล่านี้คือการที่อุปกรณ์สามารถเชื่อมต่อกับอินเทอร์เน็ตได้ ทำให้มีโอกาสที่จะเกิดความเสี่ยงในการถูกโจมตีทางไซเบอร์ วิธีการป้องกันและรับมือกับภัยคุกคามทางไซเบอร์จึงเป็นสิ่งสำคัญที่ต้องคำนึงถึงในการใช้งานระบบเหล่านี้

ดร.ศุภกร ได้ยกตัวอย่างความซับซ้อนของระบบภายในสนามบิน ตั้งแต่ระบบสายพาน ระบบเช็คอินในการรักษาความลับของข้อมูลลูกค้า รวมไปถึงการใช้จอมอนิเตอร์แสดงเส้นทางการบินและตารางเวลาในการบิน ระบบที่ใช้ในสนามบินจึงควรให้ความใส่ใจในการดูแลในเรื่องของ Cybersecurity ต้องมีการรักษาความปลอดภัยทางไซเบอร์ให้เพียงพอ โดยไม่สามารถมองข้ามจุดเล็กๆไปได้เลย เนื่องจากมีผลต่อความปลอดภัยของสนามบินและผู้โดยสารที่ใช้บริการ

 

ตัวอย่างภัยคุกคามทางไซเบอร์ในปัจจุบันที่สามารถทำได้อย่างง่ายดาย เช่น การจ้างแฮกเกอร์โดยใช้เงินแค่ 50 เหรียญ บน Dark web ก็สามารถเจาะระบบคอมพิวเตอร์เพื่อขโมยข้อมูลส่วนบุคคลหรือสามารถโจมตีเว็บไซต์ได้แล้ว นอกจากนั้นยังมีเรื่อง Data Breach ที่เกิดจากพนักงานในองค์กรเข้าไปคลิ๊กลิงค์ที่ไม่เหมาะสม ซึ่งผู้ไม่หวังดีอาจใช้ช่องโหว่นี้ในการขโมยข้อมูลที่มีความสำคัญ เพื่อทำการเรียกค่าไถ่จากองค์กรได้ ซึ่งเราเรียกกันว่า Ransomware โดยปัจจุบันยังมี Ransomware as a service (RaaS) ที่เป็นบริการไปขโมยและเรียกค่าไถ่จากข้อมูลสำคัญๆ โดยวิธีการป้องกันที่ดีที่สุดที่จะทำให้เราไม่ต้องจ่ายค่าไถ่ให้กับแฮกเกอร์เหล่านั้น นั่นก็คือการ Back up ข้อมูลไว้ตามจุดต่างๆ เพื่อให้ข้อมูลที่สำคัญถูกเก็บอยู่ในระบบที่ปลอดภัย ช่วยให้องค์กรสามารถกู้คืนข้อมูลให้กลับมาได้เมื่อเกิดการโจมตี อย่างองค์กรสำคัญในประเทศไทยบางองค์กร ก็มีการสำรองข้องมูลเก็บไว้หลายจุด ทั้งบนคลาวด์ Data center ภายในองค์กรและอื่นๆ

 

อีกหนึ่งอุตสาหกรรมที่ต้องเผชิญกับภัยคุกคามทางไซเบอร์มากที่สุดจากผลสำรวจของ SOCRadar นั่นก็คืออุตสาหกรรมการผลิต เพราะในอุตสาหกรรมนี้มีความซับซ้อน ซึ่งมีทั้งระบบเครื่องจักร ระบบควบคุม รวมไปถึงระบบโครงสร้างพื้นฐาน เป็นส่วนที่ต้องเพิ่มความตระหนักเกี่ยวกับภัยคุกคามทางไซเบอร์ หรือเพิ่มทรัพยากรที่จำเป็นในการเสริมสร้างความปลอดภัยในการดูแลรักษาระบบที่เก่า นอกจากการสำรองข้อมูลที่ถูกต้องและควบคุมการเข้าถึงข้อมูลให้เข้มงวดแล้ว ควรมีการตรวจสอบและอัปเดตซอฟต์แวร์อย่างสม่ำเสมอ ซึ่งจริงๆแล้วเราไม่ได้มีวิธีการป้องกันตัวเองให้ไม่โดนแฮ็กได้ ดังนั้นเราจึงต้องใช้หลักการ Cyber Resilience เพื่อให้มีความพร้อมต่อสู้กับภัยคุกคามทางไซเบอร์อยู่เสมอ เมื่อเกิดเหตุการณภัยคุมคามทางไซเบอร์แล้วเราสามารถลดผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นกับองค์กรให้ได้มากที่สุด และกู้คืนข้อมูลให้กลับมาใช้งานได้โดยทันที

 

การเชื่อมโยงระหว่าง Physical Security และ Cybersecurity ในอดีตนั้นถูกพูดถึงแยกกันมาโดยตลอด แต่เราสามารถเชื่อมโยงให้มีการทำงานร่วมกันได้ โดยใช้เทคโนโลยีและการจัดเก็บข้อมูลให้เป็นระบบ จะสามารถช่วยเสริมสร้างความปลอดภัยให้องค์กรสามารถตอบสนองต่อภัยคุกคามได้อย่างรวดเร็ว และสามารถวางแผนจัดการรับมือกับภัยคุกคามที่เกิดขึ้นในปัจจุบันให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น ในอนาคตเราคงจะได้เห็นการ Convergence ในโลก IT (Information Technology), OT (Operational Technology) และกลุ่ม Physical Security เพื่อเสริมสร้างความปลอดภัยในทุกๆ ด้านขององค์กรมากยิ่งขึ้น

#CyberElite #กรุงเทพฯเมืองDATAสร้าง #MADT #CyberPhysicalSecurity #CPSSecurity #Ransomware #RaaS #CyberResilience

.

📌 ติดต่อ 𝗖𝗬𝗕𝗘𝗥 𝗘𝗟𝗜𝗧𝗘 ได้ทุกช่องทาง

  • Email: [email protected]
  • Tel: 094-480-4838
  • LINE Official: https://line.me/R/ti/p/@cyberelite
  • Website: https://www.cyberelite.co
  • LinkedIn: https://bit.ly/36M3T7J

Stop threats today

Let’s get started