Incident Response (IR) รับมืออย่างไร เมื่อเกิดเหตุการณ์ภัยคุกคามทางไซเบอร์

incident Response

จากบทความที่แล้ว เราได้ทราบเกี่ยวกับรายงานการโจมตีทางไซเบอร์ที่มุ่งเป้าไปยัง Cloud โดยแฮกเกอร์นั้นได้มีการพัฒนากลยุทธ์ให้ซับซ้อนมากยิ่งขึ้น รวมถึงความเสี่ยงทางด้านอื่นๆ กันไปแล้ว ในบทความนี้เราจะมาต่อกันด้วยวิธีการตอบสนองต่อภัยคุกคามทางไซเบอร์ และกู้คืนข้อมูลให้กลับมาใช้งานได้อย่างรวดเร็วในกรณีที่เราถูกโจมตี การโจมตีทางไซเบอร์มีจำนวนเพิ่มมากขึ้นในปัจจุบัน ก่อให้เกิดความเสียหาย และส่งผลกระทบต่อการรักษาความปลอดภัยของข้อมูลภายในองค์กร ดังนั้นองค์กรจึงต้องเตรียมความพร้อมสำหรับการรับมือกับภัยคุกคามทางไซเบอร์ (Incident Response) ที่เราเปรียบกันเหมือนเหตุการณ์ไฟไหม้เพื่อช่วยบริหารจัดการความเสี่ยงและตอบสนองต่อเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเมื่อเกิดเหตุไฟไหม้ เพื่อให้แน่ใจว่าองค์กรสามารถดำเนินธุรกิจได้อย่างต่อเนื่อง พร้อมทั้งลดผลกระทบที่อาจจะเกิดขึ้นให้ลุกลามน้อยที่สุด เพื่อให้สามารถดำเนินงานได้อย่างต่อเนื่อง และสร้างความเชื่อมั่นให้กับองค์กร   Promotion NIST Incident Response Life Preparation การเตรียมความพร้อม องค์กรควรกำหนดแนวทางการปฏิบัติ จัดเตรียมเครื่องมือที่จำเป็นต่อการรับมือกับภัยคุกคามทางไซเบอร์ที่ครอบคลุม เพื่อตรวจจับการบุกรุก และการให้ความรู้ที่ถูกต้องแก่พนักงาน สามารถช่วยลดผลกระทบจากการโจมตีได้ โดยมีการประเมินความเสี่ยงเพื่อให้ทราบถึงระดับของความเสี่ยงทางไซเบอร์ที่อาจจะเกิดต่อองค์กร และการตั้งค่าอุปกรณ์ทางเครือข่ายให้ปลอดภัย (Network Security) Detection & Analysis การตรวจจับและวิเคราะห์ จะต้องพิจารณาระบบที่มีความเหมาะสมกับองค์กร ซึ่งการตรวจจับของระบบจะขึ้นอยู่กับรูปแบบของการโจมตี เมื่อระบบตรวจพบภัยคุกคาม จะทำการแจ้งเตือน (Alert) หรือ เก็บบันทึกข้อมูล (Log) นำมาใช้ในการวิเคราะห์หาความผิดปกติที่เกิดขึ้น และสาเหตุการโจมตีให้ถูกต้องแม่นยำ รวมไปถึงการจัดลำดับความสำคัญของ Incident เพื่อให้ดำเนินการในขั้นตอนถัดไปได้เร็วขึ้น Containment, Eradication […]