<strong>บริหารจัดการข้อมูลตามหลัก PDPA ด้วย Data Lifecycle Management</strong>

หนึ่งในความท้าทายที่หลายองค์กรกำลังเผชิญอยู่ คือการจัดการกับข้อมูลมหาศาล ที่กระจัดกระจายอยู่ตามอุปกรณ์ต่างๆ ในหลายแผนกขององค์กร ซึ่งการจัดการข้อมูลมีความสำคัญเป็นอย่างมาก เนื่องจากธุรกิจแต่ละประเภทตอนนี้ จะต้องมีการดำเนินการปฏิบัติตามข้อกำหนด พระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล หรือ Personal Data Protection Act (PDPA) ที่ให้ความสำคัญในการปกป้องข้อมูลส่วนบุคคลเป็นอย่างมาก ซึ่งสร้างมาตรฐานของบุคคลหรือนิติบุคคล ในการเก็บข้อมูลส่วนบุคคล รวบรวมข้อมูลส่วนบุคคล ใช้ข้อมูลส่วนบุคคล หรือเพื่อการเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลก็ตาม ซึ่งล้วนแล้วเกี่ยวข้องกับ พ.ร.บ. ฉบับนี้ที่จะต้องปฏิบัติตาม หากผู้ใดหรือองค์กรใดไม่ปฏิบัติตามย่อมมีบทลงโทษตามกฎหมายตามมา ซึ่งบทลงโทษของ PDPA สำหรับผู้ที่ไม่ปฏิบัติตามนั้น มีทั้งโทษทางแพ่ง โทษทางอาญา และโทษทางปกครองด้วย การบริหารจัดการวงจรชีวิตของข้อมูล เป็นกระบวนการจัดการข้อมูลโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและอายุการใช้งานของข้อมูลตั้งแต่การสร้างไปจนถึงการจัดเก็บหรือทำลาย โดยจะทำให้กระบวนการที่เกี่ยวข้องดำเนินไปโดยอัตโนมัติตามเกณฑ์ที่ตั้งไว้ ดังนั้นทุกขั้นตอนจึงต้องออกแบบ กำหนดผู้เข้าถึง รูปแบบการจัดเก็บรวมถึงเมื่อเลิกใช้ ต้องทำลายข้อมูลอย่างปลอดภัย เพราะการให้ความสำคัญกับการจัดการข้อมูลนั้น ไม่เพียงช่วยให้สามารถใช้งานข้อมูลได้เต็มประสิทธิภาพมากขึ้น แต่ยังช่วยเพิ่มความมั่นใจว่าข้อมูลสำคัญจะไม่รั่วไหลออกนอกองค์กรอีกด้วย การบริหารจัดการวงจรชีวิตของข้อมูล (Data Lifecycle Management) ถ้าเปรียบข้อมูลเป็นสิ่งมีชีวิต ข้อมูลก็จะมีวงจรชีวิตของมัน กล่าวคือมีการเกิดขึ้น ตั้งอยู่ และดับไป เพียงแต่คุณลักษณะพิเศษของมันเป็นสิ่งไม่มีชีวิต จึงมีอายุยืนตราบเท่าที่ไม่มีใครเข้าไปทำลาย วงจรชีวิตของข้อมูล คือลำดับขั้นตอนตั้งแต่เริ่มสร้างไปจนถึงการทำลายข้อมูล ซึ่งตลอดทั้งวงจรชีวิตประกอบด้วย 6 […]